จำนวนผู้เข้าชม

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การตกแต่งช่องตาราง


การตกแต่งตาราง
การตกแต่งตาราง หรือ การตกแต่งWorksheet ให้ดูสวยงาม เป็นระเบียบและมีความเหมาะสมในการใช้งาน ซึ่งจะต้องมีก ารตกแต่งโดยใช้สี การปรับแต่งตัวอักษร การกำหนดรูปแบบของข้อมูล รวมถึงการใช้ตารางเพื่อให้ข้อมูลดูน่าสนใจ
การกำหนดรูปแบบการแสดงข้อมูล
ข้อมูลที่เราป้อนในตารางสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ตัวเลข วันที่ และข้อความ ซึ่งเราสามารถกำหนดรูปแบบการแสดงข้อมูล ทั้ง 3 ประเภทให้เหมาะสมกับงานของเราได้
กำหนดรูปแบบการแสดงตัวเลขจากแถบเครื่องมือ
รูปแบบการแสดงตัวเลข มีหลายรูปแบบให้เราเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น เป็นตัวเลขเกี่ยวกับสกุลเงิน ตัวเลขเกี่ยวกับเปอร์เซ็นต์ หรือกำหนดจำนวนทศนิยมของตัวเลข วิธีการกำหนดรูปแบบการแสดงในช่องแนวนอน (Horizontal) ใช้วางตำแหน่งข้อมูลด้านแนวนอนว่าจะให้ชิดด้านใดมีทางเลือกดังต่อไปนี้
- ทั่วไป (General) ตัวเลขหรือวันที่ชิดขวา ตัวหนังสือชิดซ้าย และค่าตรรกะจะอยู่กึ่งกลาง
- ซ้าย(ย่อหน้า) วางเนื้อหาไว้ชิดขอบซ้ายของเซลล์ ถ้าเลือกอันนี้สามารถกำหนดระยะของย่อหน้าได้จากช่องย่อหน้า (Indent) ที่ด้านขวา
- จัดกลาง (Center) วางเนื้อหาไว้ตรงกลางเซลล์
- ขวา (Right) วางเนื้อหาชิดขวาเซลล์
- เติม (Fill) ให้ทำการซ้ำเนื้อหาที่มีอยู่ให้เต็มความกว้างของเซลล์
- จัดแนว (Justify) ให้ตัดคำของข้อความที่ยาวกว่าความกว้างของเซลล์ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ทำให้ในเซลล์มีหลายบรรทัดโดยให้จัดตัวอักษรเสมอหลัง
- กึ่งกลางข้ามส่วนที่เลือก (Center Across Selection) วางข้อมูลในเซลล์หนึ่งให้กึ่งกลางของหลายเซลล์
ส่วนในช่องแนวตั้ง (Vertical) ใช้วางตำแหน่งข้อมูลด้านแนวตั้งโดย
- บน (Top) วางข้อมูลในเซลล์ชิดขอบบน
- จัดกลาง (Center) วางข้อมูลในเซลล์ตรงกลาง
- ล่าง (Bottom) วางข้อมูลในเซลล์ชิดขอบล่าง
- จัดแนว (Justify) ให้ขยายระยะห่างระหว่างบรรทัดเพื่อให้ชิดขอบบนและล่างของเซลล์ในกรณีที่มีหลายบรรทัด
ในส่วนของการวางแนว (Orientation) จะยอมให้เลือกทิศทางของการวางข้อความว่าจะให้เอียงทำมุมเท่าใดตัวเลขที่มีการใช้งานบ่อย ๆ คือการกำหนดจากแถบเครื่องมือ ดังนี้ในกรอบตัวควบคุมข้อความ(Text Control) ที่อยู่ด้านล่างจะมีเช็คบ็อกซ์อยู่ 3 อัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้ - ตัดข้อความ (WrapText) ให้ตัดข้อความเป็นหลายบรรทัดในหนึ่งเซลล์ จำนวนของบรรทัดที่ถูกตัดขึ้นอยู่กับความกว้างของสดมภ์และความยาวของเซลล์ - จัดให้พอดี (Shrink to fit) ลดขนาดของแบบอักษรที่ปรากฏเพื่อแสดงเนื้อหาทั้งหมดให้พอดีกับความกว้างของเซลล์โดยมันลดขนาดอักษรให้เล็กพอที่จะแสดง - ผสานเซลล์ (Merge Cell) ให้รวมเซลล์ที่ถูกเลือกเอาไว้เหมือนกันเป็นเซลล์เพียงเซลล์เดียว

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความหมายของจริยธรรมคอมพิวเตอร์


หัวข้อ (Topic)
8.1 ความหมายจริยธรรมคอมพิวเตอร์
8.2 อาชญากรรมและอาชญากรคอมพิวเตอร์
8.3 วิธีการที่ใช้ในการกระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
8.4 หลักจริยธรรมและซอฟต์แวร์

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective)
1. อธิบายความหมายของจริยธรรมคอมพิวเตอร์ได้
2. อธิบายเกี่ยวกับอาชญากรรมและอาชญากรคอมพิวเตอร์ได้
3. อธิบายเกี่ยวกับวิธีการที่ใช้ในการกระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้
4. อธิบายเกี่ยวกับหลักจริยธรรมและการใช้งานซอฟต์แวร์ได้

8.1 จริยธรรมคอมพิวเตอร์ (Ethic)
จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในทางปฏิบัติแล้วการระบุว่าการกระทำใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนักทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น
ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย หรือก่อความรำคาญ
2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3. การเข้าถึงข้อมูลหรือใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยไม่ได้รับอนุญาต
4. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
(http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/kanokjit/pageA.html)




จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) ต้องคำนึงถึง 4 ประเด็น ดังนี้
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ ซึ่งการละเมิดความเป็นส่วนตัว ได้แก่
1.1 การเข้าไปดูข้อความใน E-mail การดูข้อมูลในเครื่องของคนอื่น หรือดูข้อมูลของ
บุคคลที่เข้าไปใช้บริการเว็บไซต์
1.2 การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้
คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน การใช้บริการของพนักงาน หรือแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
1.3 การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
1.4 การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัว
อื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) เช่น การบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ตามข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง การเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นความจริง
3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property) หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) เป็นการกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และเข้าถึงข้อมูล เพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล ส่วนการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว
(http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/kanokjit/pageA.html)

กฎหมายคุ้มครองในการทำธุรกรรม Electronic
มีกฎหมายคุ้มครอง 6 ฉบับ ได้แก่
1. กฏหมายเกี่ยวกับ “ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์”
2. กฏหมายเกี่ยวกับ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์”
3. กฏหมายเกี่ยวกับ “อาชญากรรมคอมพิวเตอร์”
4. กฏหมายเกี่ยวกับ “การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์”
5. กฏหมายเกี่ยวกับการ “คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”
6. กฎหมายเกี่ยวกับ “โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ”


ตัวอย่างมาตรากฎหมายการทำธุรกรรมทาง Electronic
มาตรา ๗ ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของ ข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่
ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา ๘ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๙ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มี
หลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่
สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็น
หนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลได้รับการตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูล ห้สันนิษฐานว่าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูล
ได้รับนั้นถูกต้องตรงกันกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ส่งข้อมูลได้ส่งมา

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏในการตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเองว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับ
ข้อมูลได้รับเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคที่ผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลได้ตกลงหรือระบุไว้ใน
มาตรฐานซึ่งใช้บังคับอยู่ ให้สันนิษฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปนั้นได้เป็นไปตามข้อกำหนด
ทางเทคนิคทั้งหมดแล้ว

มาตรา ๒๒ การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้มีการส่งเมื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่อยู่
นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล

มาตรา ๒๓ การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูล
ของผู้รับข้อมูล

ตัวอย่างคดีความด้านคอมพิวเตอร์
คำพิพากษาที่ ๗๙๗/๒๕๔๕: เรื่องตัดต่อภาพ ทำให้เป็นภาพอนาจาร แล้วเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เป็นการ
หมิ่นประมาทผู้เสียหาย

คดี หมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณาฐานความผิด: จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๒๘ ฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา
มาตรา ๒๘๗ ฐานเพื่อความประสงค์แห่งการค้า เพื่อแสดงอวดแก่ประชาชน ทำให้แพร่หลายด้วย
ประการใดๆ ซึ่งสิ่งพิมพ์รูปภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก จำเลยกระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพ ดังมีข้อเท็จจริงต่อไปนี้ กล่าวคือ เมื่อระหว่างเดือนมิถุนายน ๒๕๔๒ ถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกันตลอดมา จำเลยได้หมิ่นประมาท นางสาว อ. ผู้เสียหายที่ ๑ นางสาว ค. ผู้เสียหายที่ ๒ และนางสาว ก. ผู้เสียหายที่ ๓ ซึ่งเป็นดารานักแสดง โดยการโฆษณานำภาพใบหน้าของผู้เสียหายทั้งสามที่ไปตัดต่อเข้ากับภาพหญิงอื่นในลักษณะโป๊ เปลือย เห็นอวัยวะเพศชัดเจน เผยแพร่ภาพดังกล่าวทางระบบอินเตอร์เน็ต เป็นการใส่ความผู้เสียหายทั้งสามต่อประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้ประชาชนที่ชมภาพดังกล่าวทางอินเตอร์เน็ตเข้าใจว่า ผู้เสียหายทั้งสาม ซึ่งเป็นดารานักแสดง เป็นที่รู้จัก และสนใจของประชาชน มีอาชีพที่ขัดต่อศีลธรรมในทางเพศ เป็นผู้มีความประพฤติไม่ดี โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายทั้งสามเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังจากประชาชนทั่วไปที่ได้พบเห็นภาพดังกล่าวนั้น
การกระทำของจำเลยนี้พิจารณาได้ว่า เพื่อประสงค์แห่งการค้า และโดยการค้า เพื่อแสดงอวดแก่ประชาชนทั่วไปได้ทำให้แพร่หลาย ด้วยการแพร่ภาพของผู้เสียหายทั้งสามดังกล่าวในฟ้อง และดารานักแสดงหญิงผู้มีชื่ออื่นอีกหลายคน โดยนำภาพใบหน้าของผู้เสียหายทั้งสาม รวมทั้งดารานักแสดงหญิงผู้มีชื่ออื่นอีกหลายคนดังกล่าวที่ตัดต่อเข้ากับภาพหญิงอื่น ในลักษณะโป๊เปลือย เห็นอวัยวะเพศอย่างชัดเจน มีลักษณะของการร่วมเพศกับผู้ชายไม่มีการปกปิดส่วนใดๆ อันเป็นภาพลามกออกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ต ได้เห็นภาพลามกดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี เหตุเกิดที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร และทั่วราชอาณาจักรเกี่ยวพันกัน
ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๘ ฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา จำคุก ๑ ปี ปรับ ๔๐,๐๐๐ บาท มาตรา ๒๘๗ ฐานเพื่อความประสงค์แห่งการค้า เพื่อแสดงอวดแก่ประชาชน ทำให้แพร่หลายด้วยประการใดๆ ซึ่งสิ่งพิมพ์รูปภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามกจำคุก ๑ ปี ปรับ ๖,๐๐๐ บาท รวมจำคุก ๒ ปี ปรับ ๔๖,๐๐๐ บาท จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ จำคุก ๑๒ เดือน ปรับ ๒๓,๐๐๐ บาท พิเคราะห์รายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติแล้วเห็นว่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดใดๆ มาก่อน มีที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง ความประพฤติโดยทั่วไปไม่ปรากฏข้อเสียหายร้ายแรง เห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติจำนวน ๔ ครั้ง ภายในกำหนดระยะเวลา ๑ ปี ให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณะประโยชน์จำนวน ๑๒ ชั่วโมง หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ ริบของกลาง
(
http://www.geocities.com/elaw007/caseTh797-2545.html http://www.geocities.com/elaw_edu/thai_pub.html http://www.geocities.com/elaw007/thai.html)


การกระทำผิดจริยธรรมและผิดกฎหมาย
1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2. อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
3. การละเมิดลิขสิทธิ์ปลอมแปลง เลียนแบบระบบซอพต์แวร์ โดยมิชอบ
4. ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5. ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
6. ไปก่อกวน ทำลายระบบสาราณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ ระบบการจราจร
7. หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
8. แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักรอบค้นหารหัสบัตร
เครดิตของคนอื่นมาใช้ดักข้อมูลทางการค้า เพื่อเอาผลประโยชน์นั้นมาเป็นของตน
9. ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินในบัญชีผู้อื่น เข้าบัญชีตัวเอง

8.2 อาชญากรรมและอาชญากรคอมพิวเตอร์

อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการก่ออาชญากรรมและกระทำความผิดนั้น สามารถจำแนกอาชญากรเป็นกลุ่มได้ดังนี้
1. อาชญากรมือใหม่หรือมือสมัครเล่น เป็นพวกที่อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะไม่ใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย
2. อาชญากรพวกจิตวิปริต เป็นพวกผิดปกติ มีลักษณะนิสัยที่ชอบความรุนแรง
3. อาชญากรที่ร่วมมือกันกระทำความผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ ๆ
4. อาชญากรมืออาชีพ
5. อาชญากรหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์
6. อาชญากรพวกบ้าลัทธิ จะกระทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อในหนึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุ่นแร

7. Cracker
8. Hacke

9. อาชญากรในรูปแบบเดิม ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เช่น พยายามขโมย
บัตร ATM และรหัสบัตรของผู้อื่น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์


ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามยุคสมัย ซึ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากมายทั่วโลก แต่ถ้าหากนำไปใช้ในทางมิชอบก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงซึ่งอาจประเมินค่ามิได้ หรือส่งผลกระทบที่ร้ายแรงแก่ประชาคมโลก และได้เกิดรูปแบบใหม่ของอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด หลายด้านเช่น หยุดการทำงาน (Interruption) ลักลอบข้อมูล (Interception) แก้ไขข้อมูล (Modification) และ สร้างข้อมูลปลอม (Fabrication) บนระบบเครือข่าย และการปล่อยไวรัสเข้าสู่ระบบ รวมไปถึงการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นไม่ว่าทางใดก็ตาม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา “กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)” หรือที่บางประเทศเรียกว่า “กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ(Computer Misuse Law)” ขึ้น หรือต้องมีการปรับแก้ประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้ทันสมัยเข้ากับการกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบขึ้นให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยประเทศต่างๆ ที่พัฒนาและออกกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้บังคับแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สิงค์โปร มาเลเซีย และ Council of Europe ได้ออก Convention on Cyber-Crime เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆใช้กฎหมายบังคับในทิศทางเดียวกัน สำหรับในประเทศไทย กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาร่างกฎหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับ โดยสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (ไอที 2000) เพื่อพัฒนาสังคมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในการก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ แห่งศตวรรษที่ 21 โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญของนโยบายดังกล่าว คือ การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และให้คณะกรรม-การฯ เป็นศูนย์กลางดำเนินการและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็น เลขานุการคณะกรรมการฯ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เดิมเรียกว่า “กฎหมายแลกเปลี่ยน ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์”) กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ต่อมาได้มีการรวมหลักการเข้ากับกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และรวมเรียกชื่อเดียวว่า “กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”) กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและ เท่าเทียมกัน (เดิมเรียกว่า “กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78”) กฎหมายเกี่ยวกับการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ อนึ่ง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการยกร่าง กฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 6 ฉบับข้างต้น คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เฉพาะกิจขึ้นมา 6 ชุด ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจาก สาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ การเงินการธนาคาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ใน การพิจารณายกร่างกฎหมายโดยมี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมาย

หน่วยการเรียนรูที่ 3 การออกแบบโปรแกรม


การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (อังกฤษ: Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และอัลกอริทึมที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์
การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ plain text ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม
ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาโปรแกรม มีขั้นตอนโดยสังเขปดังนี้
วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ (Problem Analysis and Requirement Analysis)
กำหนดและคุณสมบัติของโปรแกรม (Specification)
การออกแบบ (Design)
การโค้ด (Coding)
การคอมไพล์ (Compilation)
การทดสอบ (Testing)
การจัดทำเอกสาร (Documentation)
การเชื่อมต่อ (Integration)
การบำรุงรักษา (Maintenance)
[
แก้] ภาษาโปรแกรม
ภาษาโปรแกรมแต่ละภาษาจะมีลักษณะหรือรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกัน การเลือกภาษาโปรแกรมหรือภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาเขียนโปรแกรมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่นนโยบายของบริษัท, ความเหมาะสมของโปรแกรมกับลักษณะงานที่จะถูกนำไปใช้, การเข้ากันได้กับโปรแกรมอื่น ๆ, หรืออาจเป็นความถนัดของแต่ละคน ภาษาโปรแกรมที่มีแนวโน้มในการนำมาเขียนมักเป็นภาษาที่มีคนที่สามารถเขียนได้ทันที หรือหากมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ภาษาอื่น เช่นต้องการเน้นประสิทธิภาพในการทำงานของโปรแกรม ก็อาจจำเป็นต้องหานักเขียนโปรแกรมขึ้นมาจำนวนหนึ่งซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในภาษาโปรแกรมที่ต้องการ และต้องมีคอมไพเลอร์ที่รองรับภาษาเหล่านั้นด้วยนภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวิเคราะห์ระบบ


เป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานปัจจุบัน (Current System) เพื่อออกแบบระบบการทำงานใหม่(New System) หรือต้องการปรับปรุงให้ระบบงานดีขึ้น นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst : SA)ผู้ที่ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์การในการกำหนดบุคคล ข้อมูล การประมวลผล การสื่อสารข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่าจะจัการหรือปรับปรุงอย่างไร เพื่อสามารถพัฒนาระบบธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ1. มีความรู้ทางด้านธุรกิจ2. มีความเป็นผู้นำ3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี4. มีความสามรถในการแก้ไขปัญหา5. มีความสามารถในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน6. ควรมีความรู้ในการเขียนโปรแกรม7. ต้องติดตามเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ8. ประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์ระบบวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle)1. กำหนดปัญหา(Problem definition)2. วิเคราะห์(Analysis)3. การออกแบบ(Design)4. พัฒนา(Development)5. ทดสอบ(Testing)6. ติดตั้ง(Implementation)7. บำรุงรักษา(Maintenance)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1ระบบเลขฐานสิบ


การเขียนจำนวนในรูปทศนิยมคือการเขียนจำนวนให้อยู่ในรูปเลขฐานสิบ ซึ่งมีสัญลักษณ์อยู่ 10 ตัว (0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9) และอาจมีการใช้ร่วมกับจุดทศนิยม สำหรับจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม และใช้สัญลักษณ์ + และ − เพื่อบอกค่าบวกและค่าลบ
เลขฐานสิบนี้เป็นเลขฐานปกติที่คนทั่วไปใช้ เนื่องจากมนุษย์มีสิบนิ้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในอดีตก็มีผู้ที่ใช้เลขฐานที่ไม่ใช่ฐานสิบ เช่น ชาว
ไนจีเรียใช้เลขฐานสิบสอง และชาวบาบิโลเนียนใช้เลขฐานหกสิบ และชาวเผ่ายูกิใช้เลขฐานแปด
สัญลักษณ์แทนเลขแต่ละหลักนั้น โดยทั่วไปจะใช้เลขอารบิก และเลขอินเดีย ซึ่งมาจากระบบเดียวกัน แต่มีรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกัน
[
แก้] การเขียนจำนวนจริงในรูปทศนิยม
[
แก้] เศษส่วนและทศนิยม
[
แก้] เลขทศนิยม
การเขียนเศษส่วนให้เป็นทศนิยม ทำได้โดยให้ตัวส่วนเป็นกำลังของสิบ
การเขียนทศนิยมนั้นไม่จำเป็นต้องเขียนตัวส่วนเหมือนเศษส่วน แต่ใช้เครื่องหมาย
จุดทศนิยม (อาจต้องเพิ่ม 0 ด้านหน้า ถ้าจำเป็น) และตำแหน่งของตัวเลขจะเกี่ยวข้องกับส่วน ที่เป็นกำลังของสิบ เช่น และ สามารถเขียนได้เป็น 0.8,8.33,0.083,0.0008 และ 0.008 ตามลำดับ
จำนวนที่เขียนได้ในลักษณะนี้ เป็น เลขทศนิยม
ส่วนที่เป็น
จำนวนเต็มและเศษส่วน จะถูกแยกกันด้วยเครื่องหมายจุดทศนิยม ซึ่งเราใช้เครื่องหมาย มหัพภาค (.) แทนจุดทศนิยม ถ้าจำนวนนั้นเป็นเศษส่วนที่น้อยกว่าหนึ่ง เราจำเป็นต้องใส่ 0 นำหน้า (กล่าวคือ เรานิยมเขียน 0.5 มากกว่า .5) เลขศูนย์ตามท้ายทศนิยมถือว่าไม่จำเป็นในทางคณิตศาสตร์ นั่นคือ 0.080 และ 0.08 มีความหมายเหมือนกันในทางคณิตศาสตร์ แต่ในทางวิศวกรรม 0.080 บอกว่า อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินหนึ่งในพัน แต่ 0.08 อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินหนึ่งในร้อย
[
แก้] การเขียนเลขอื่นๆ ในรูปทศนิยม
จำนวนอื่นๆ ที่ไม่อาจเขียนได้อยู่ในรูปทศนิยมที่มีจุดสิ้นสุด เราจะเขียนจำนวนเหล่านี้ได้ในรูปทศนิยมซ้ำ
เนื่องจาก 10 เป็นผลคูณของ
จำนวนเฉพาะจำนวนแรกและจำนวนที่สาม (นั่นคือ 2 และ 5) ซึ่งมากกว่ากำลังสองของจำนวนเฉพาะจำนวนที่สองอยู่หนึ่ง (กำลังสองของ 3 คือ 9 และน้อยกว่าจำนวนเฉพาะจำนวนที่ห้าอยู่หนึ่ง (11) ทำให้มีรูปแบบของทศนิยมบางรูปแบบ ดังนี้
(3 ซ้ำ)
(6 ซ้ำ)
(1 ซ้ำ)
(09 ซ้ำ)
(3 ซ้ำ)
(012345679 ซ้ำ)
สำหรับจำนวนที่มีจำนวนเฉพาะอื่นๆ เป็นตัวส่วนนั้นจะทำให้มีรูปแบบที่ซ้ำยาวขึ้น เช่น
7 และ 13
การหาชุดของทศนิยมซ้ำนั้นทำได้โดยการตั้งหารยาว เราจะมีเศษไม่ใช่ศูนย์เพียง q-1 แบบเท่านั้นจากการหารด้วย q ดังนั้น ช่วงของทศนิยมซ้ำจะยาวไม่เกิน q-1 อย่างแน่นอน ลองดูตัวอย่างของการหา 3 / 7 ในรูปทศนิยม 0.4 2 8 5 7 1 4 ...
7 ) 3.0 0 0 0 0 0 0 0
2 8 = 4 เศษ 2
2 0
1 4 = 2 เศษ 6
6 0
5 6 = 8 เศษ 4
4 0
3 5 = 5 เศษ 5
5 0
4 9 = 7 เศษ 1
1 0
7 = 1 เศษ 3
3 0
2 8 = 4 เศษ 2 (อีกแล้ว)
2 0
ฯลฯ
ในทางตรงกันข้าม เราสามารถเขียนทศนิยมซ้ำให้อยู่ในรูปเศษส่วน ได้ โดยใช้รูปแบบทางเรขาคณิต เพื่อหาผลรวมของชุดทศนิยม เช่น

ประวัติวันพ่อ


วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดย คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็น ผู้ริเริ่ม หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อ เนื่องจาก พ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบ แทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ อีกทั้งยังทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและ พระราชธิดาที่ทรงรักใคร่ห่วงใย ตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน และพระเจ้าหลานเธอทุก ๆ พระองค์ต่างซาบซึ้ง ในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระ เมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์และพระบาทสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออร์เบินณ์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงมีพระเชษฐาธิราช (พี่ชาย) และพระเชษฐภคินี (พี่สาว) 2พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8)

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของตะไคร้



ประโยชน์ของตะไคร้, แก้ได้สารพัดโรค
ตะไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Staph ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วยถิ่นกำเนิดตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้ลักษณะโดยทั่วไปโดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้หางนาค ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางสิงห์ ตะไคร้หอม เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไปการปลูกและขยายพันธุ์ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จำนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากแดดให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรมสรรพคุณใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียร ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้วิธีทำน้ำตะไคร้ไว้ดื่มนำต้นตะไคร้มาทุบแล้วใส่ลงไปต้มในน้ำที่กำลังเดือดพล่าน รอจนน้ำเปลี่ยนสีให้ยกลง เอากากออกแล้วเอาน้ำตาลใส่ ชิมดูรสชาติหวานปานกลาง พอเย็นลงเก็บใส่ตู้เย็น แก้กระหาย ใช้ดื่มก่อนดื่มเหล้าจะทำให้ดื่มเหล้าได้น้อยลง และทำให้เจริญอาหารชาตะไคร้สรรพคุณ : แก้ปวดกระดูก , ปวดหลัง , ปวดแข้งปวดขา , ป้องกันโรคกระดูกผุ , นั่งดูหนังสือแล้วตาลาย ลุกขึ้นแล้วหน้ามืด , ป้องกันโรคไต , เบาหวาน , คอเรสเตอรอลวิธีทำเอาต้นตะไคร้ล้างให้สะอาด (ตะไคร้ที่ใช้ทำอาหาร) ใช้ส่วนที่เป็นต้น ใบกับรากไม่เอา หั่นตากแดดให้แห้งสนิท แล้วนำมาคั่วให้เหลืองหอม เก็บไว้ชง หรือต้มกินต่างน้ำ เหมือนน้ำชา

ประวัติวันปีใหม่


ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณ ถือเอาวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย (เดือนหนึ่ง) เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติทางพระพุทธศาสนา ที่เริ่มฤดูหนาว (เหมันต์) เป็นจุดเริ่มต้นของปีต่อมา จารีตดังกล่าวได้แปรเปลี่ยนไปตามคติของพราหมณ์ ซึ่งใช้วันขึ้นหนึ่งค่ำเดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นการนับวัน เดือน ปี แบบจันทรคติ คือการใช้การโคจรของดวงจันทร์เป็นเกณฑ์
ต่อมาเมื่อทางราชการเปลี่ยนมาใช้แบบสุริยคติ คือใช้ดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ จึงได้ถือเอา วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2432
วันขึ้นปีใหม่ของนานาอารยประเทศ ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นการนับตามสุริยคติ เมื่อประเทศไทยซึ่งเดิมใช้วันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย ของไทย เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับว่าเป็นห้วงระยะเวลาใกล้เคียง กับวันที่ 1 มกราคม จึงเห็นว่าการที่ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นการเหมาะสมดังนี้
ตามทางดาราศาสตร์ การกำหนดอาศัยหลัก 2 ประการ คือ ใช้หลักวันที่ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ซึ่งจะตกประะมาณ วันที่ 22 ธันวาคม อีกประการหนึ่งใช้หลักวันที่ดวงอาทิตย์ อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ซึ่งจะตกประมาณวันที่ 20 มีนาคม ประเทศไทยเคยใช้หลักประการแรกมาก่อน คือใช้เดือนอ้าย แรมหนึ่งค่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับวันที่ 22 ธันวาคม
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงอธิบายไว้เป็นใจความว่า ฤดูหนาวเป็นเวลาที่พ้นจากมืดฝน สว่างขึ้นเหมือนเวลาเช้า โบราณจึงถือเป็นต้นปี ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่างเต็มที่เหมือนเวลากลางวัน โบราณจึงถือเป็นกลางปี ส่วนฤดูฝนเป็นห้วงเวลาที่มืดครื้ม เหมือนกลางคืน โบราณจึงถือเป็นปลายปี จึงได้เริ่มเดือนหนึ่งที่เดือนอ้าย และไทยโบราณถือการเริ่มข้างแรมเป็นต้นเดือน
มีผู้ค้นพบว่า คติที่นับวันใดวันหนึ่งในห้วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 21 เดือนธันวาคม ถึงวันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่นี้ เป็นคติเก่าแก่ของชนชาติที่อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุผลที่พออธิบายได้ว่าในระยะเวลาดังกล่าวนี้ เป็นเวลาที่แลเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดโตที่สุด และเป็นเวลาที่อากาศเริ่มเย็นสบาย หลังจากที่หมดฤดูฝนแล้ว ประเทศไทยเราอยู่ในย่านกลางของพื้นที่ดังกล่าว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ชาติไทยเราได้มีวันขึ้นปีใหม่ตามคติดังกล่าวมาแต่โบราณกาล
จากการตรวจสอบในห้วงระยะเวลา 30 ปี จากปี พ.ศ. 2453 ถึงปี พ.ศ. 2483 พบว่าวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติแล้วจะอยู่ในเดือนธันวาคม และส่วนใหญ่จะอยู่ห่างจากวันที่ 1 มกราคม ไม่เกิน 10 วัน ห่างกันมากที่สุด 30 วัน และห่างน้อยที่สุดเพียง 2 วัน เท่านั้น
อินเดียในสมัยโบราณก็ได้เคยใช้วันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่มาแล้ว เรียกว่ามกรสงกรานต์ การที่อินเดียในยุคต่อมาใช้เดือนจิตรมาส หรือเดือนเมษายน เป็นต้นปีนั้น มีที่มาจากฝ่ายเหนือของอินเดีย เพราะในพื้นที่บริเวณดังกล่าว เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ลมฟ้าอากาศดีที่สุด มติได้แผ่เข้ามายังชนชาวไทย โดยพราหมณ์นำเข้ามาอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ในครั้งนั้น สูงมากพอจนทำให้ไทยเราหันไปใช้ตามแบบ พราหมณ์ในหลาย ๆ เรื่อง รวมทั้งวันขึ้นปีใหม่ด้วย โดยนับเดือนห้าเป็นต้นปี ทำให้เราต้องขึ้นปีใหม่ 2 ครั้ง คือขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า และวันสงกรานต์ ซึ่งจะเลื่อนไปมาในแต่ละปีไม่แน่นอน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงเห็นความลำบากในกรณีดังกล่าว เมื่อไทยต้องมีการติดต่อกับ ต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2432 วันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า ไปตรงกับวันที่ 1 เดือนเมษายน พอดี จึงได้มีประกาศบรมราชโองการ ให้ถือวันที่ 1 เดือนเมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่นั้นมา
ประเทศไทยได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เดือนมกราคม เมื่อปี พ.ศ. 2484 ด้วยเหตุผลทั้งมวลที่ได้กล่าวมาแล้ว และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ บรรดานานาประเทศ ได้ใช้วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ ทำให้สมประโยชน์แก่ประเทศไทยด้วยประการทั้งปวง

ความหมายความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ความเป็นมาในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯเป็นครั้งแรกการจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆ มา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการจัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไปเหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

ประวัติวันปีใหม่











































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณ ถือเอาวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย (เดือนหนึ่ง) เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติทางพระพุทธศาสนา ที่เริ่มฤดูหนาว (เหมันต์) เป็นจุดเริ่มต้นของปีต่อมา จารีตดังกล่าวได้แปรเปลี่ยนไปตามคติของพราหมณ์ ซึ่งใช้วันขึ้นหนึ่งค่ำเดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นการนับวัน เดือน ปี แบบจันทรคติ คือการใช้การโคจรของดวงจันทร์เป็นเกณฑ์
ต่อมาเมื่อทางราชการเปลี่ยนมาใช้แบบสุริยคติ คือใช้ดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ จึงได้ถือเอา วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2432
วันขึ้นปีใหม่ของนานาอารยประเทศ ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นการนับตามสุริยคติ เมื่อประเทศไทยซึ่งเดิมใช้วันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย ของไทย เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับว่าเป็นห้วงระยะเวลาใกล้เคียง กับวันที่ 1 มกราคม จึงเห็นว่าการที่ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นการเหมาะสมดังนี้
ตามทางดาราศาสตร์ การกำหนดอาศัยหลัก 2 ประการ คือ ใช้หลักวันที่ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ซึ่งจะตกประะมาณ วันที่ 22 ธันวาคม อีกประการหนึ่งใช้หลักวันที่ดวงอาทิตย์ อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ซึ่งจะตกประมาณวันที่ 20 มีนาคม ประเทศไทยเคยใช้หลักประการแรกมาก่อน คือใช้เดือนอ้าย แรมหนึ่งค่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับวันที่ 22 ธันวาคม
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงอธิบายไว้เป็นใจความว่า ฤดูหนาวเป็นเวลาที่พ้นจากมืดฝน สว่างขึ้นเหมือนเวลาเช้า โบราณจึงถือเป็นต้นปี ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่างเต็มที่เหมือนเวลากลางวัน โบราณจึงถือเป็นกลางปี ส่วนฤดูฝนเป็นห้วงเวลาที่มืดครื้ม เหมือนกลางคืน โบราณจึงถือเป็นปลายปี จึงได้เริ่มเดือนหนึ่งที่เดือนอ้าย และไทยโบราณถือการเริ่มข้างแรมเป็นต้นเดือน
มีผู้ค้นพบว่า คติที่นับวันใดวันหนึ่งในห้วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 21 เดือนธันวาคม ถึงวันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่นี้ เป็นคติเก่าแก่ของชนชาติที่อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุผลที่พออธิบายได้ว่าในระยะเวลาดังกล่าวนี้ เป็นเวลาที่แลเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดโตที่สุด และเป็นเวลาที่อากาศเริ่มเย็นสบาย หลังจากที่หมดฤดูฝนแล้ว ประเทศไทยเราอยู่ในย่านกลางของพื้นที่ดังกล่าว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ชาติไทยเราได้มีวันขึ้นปีใหม่ตามคติดังกล่าวมาแต่โบราณกาล
จากการตรวจสอบในห้วงระยะเวลา 30 ปี จากปี พ.ศ. 2453 ถึงปี พ.ศ. 2483 พบว่าวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติแล้วจะอยู่ในเดือนธันวาคม และส่วนใหญ่จะอยู่ห่างจากวันที่ 1 มกราคม ไม่เกิน 10 วัน ห่างกันมากที่สุด 30 วัน และห่างน้อยที่สุดเพียง 2 วัน เท่านั้น
อินเดียในสมัยโบราณก็ได้เคยใช้วันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่มาแล้ว เรียกว่ามกรสงกรานต์ การที่อินเดียในยุคต่อมาใช้เดือนจิตรมาส หรือเดือนเมษายน เป็นต้นปีนั้น มีที่มาจากฝ่ายเหนือของอินเดีย เพราะในพื้นที่บริเวณดังกล่าว เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ลมฟ้าอากาศดีที่สุด มติได้แผ่เข้ามายังชนชาวไทย โดยพราหมณ์นำเข้ามาอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ในครั้งนั้น สูงมากพอจนทำให้ไทยเราหันไปใช้ตามแบบ พราหมณ์ในหลาย ๆ เรื่อง รวมทั้งวันขึ้นปีใหม่ด้วย โดยนับเดือนห้าเป็นต้นปี ทำให้เราต้องขึ้นปีใหม่ 2 ครั้ง คือขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า และวันสงกรานต์ ซึ่งจะเลื่อนไปมาในแต่ละปีไม่แน่นอน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงเห็นความลำบากในกรณีดังกล่าว เมื่อไทยต้องมีการติดต่อกับ ต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2432 วันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า ไปตรงกับวันที่ 1 เดือนเมษายน พอดี จึงได้มีประกาศบรมราชโองการ ให้ถือวันที่ 1 เดือนเมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่นั้นมา
ประเทศไทยได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เดือนมกราคม เมื่อปี พ.ศ. 2484 ด้วยเหตุผลทั้งมวลที่ได้กล่าวมาแล้ว และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ บรรดานานาประเทศ ได้ใช้วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ ทำให้สมประโยชน์แก่ประเทศไทยด้วยประการทั้งปวง

ความหมายความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ความเป็นมาในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯเป็นครั้งแรกการจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆ มา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการจัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไปเหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้นกิจกรรมวันที่ 1 มกราคมของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย