จำนวนผู้เข้าชม

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

12 วิธีวางแผนใช้เงินอย่างฉลาด




1. การวางแผนการเงิน การวางแผนการเงิน ถือเป็นข้อพึงปฏิบัติแรกที่ทุกคนจะต้องทำ ทั้งวางแผนการเงินของตัวเองและครอบครัวให้เหมาะสม ประกอบด้วย การสำรวจตัวเอง, กำหนดเป้าหมาย, จัดสัดส่วนการใช้เงิน,ลองทำแผนมาปฏิบัติ
2. จัดงบดุลคุมค่าใช้จ่ายส่วนตัว

1)รวมตัวเลขรายได้ของคุณทั้งหมด

2) รวบรวมและจดบันทึกรายจ่ายในแต่ละเดือน คุณจ่ายเงินไปกับเรื่องใดบ้าง

3) คาดคะเนรายจ่ายในอนาคต

4) ทำสรุปงบประมาณ แล้วตั้งงบดุลเงินสด

5) ติดตามการใช้จ่ายและปรับปรุงงบประมาณ

3. ออมเพลิน เมินจน การเก็บออมควรแยกบัญชีเงินฝากเป็น 3 บัญชี ได้แก่ บัญชีใช้จ่ายเผื่อฉุกเฉิน บัญชีเงินออม และบัญชีเพื่อการลงทุน
4. บริหารหนี้ หนีกับดักทางการเงิน การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งหนี้นั้น มีทั้ง “หนี้ดี” และ “หนี้ฟุ่มเฟือย” ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ วิธีการที่ดีที่สุดในการลดหนี้ คือ พยายามใส่เงินจำนวนมากที่สุดโดยไม่กระทบกับรายจ่ายประจำที่จำเป็น เพื่อชำระหนี้สินที่ถูกคิดดอกเบี้ยแพงที่สุด
5. วางแผนประหยัดภาษี วิธีง่าย ๆ คือ สรรหาค่าลดหย่อน ประกอบด้วย ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เงินบริจาค ทำประกันชีวิต ฯลฯ
6. ก่อนจูงมือไปแต่งงาน คู่สมรสควรวางแผนอนาคตทางการเงินระยะยาวถึง 10 ปี และให้จัดแยกเงินออกเป็นหลาย ๆ บัญชี ตามวัตถุประสงค์ของการใช้เงินแต่ละประเภท
7. แผนการเงินเพื่อซื้อรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในการซื้อรถ ไม่ควรเกินอัตรา 15% ของรายได้ครอบครัว เพื่อไม่ให้เกิดภาระผ่อนส่งเกินตัว
8. แผนการเงินเพื่อซื้อบ้าน คือ “เลือกโครงการที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด กู้เงินให้น้อยที่สุด และผ่อนชำระให้เร็วที่สุด”
9. แผนการเงินเพื่อเจ้าตัวน้อย จากการสำรวจค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการคลอดบุตร และค่าเลี้ยงดูบุตรต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถจัดการได้ คือ พอเริ่มตั้งครรภ์ก็เริ่มเก็บเงิน และบริหารเงินให้ดี
10. แผนการเงินเพื่อการศึกษาลูก ในการคำนวณหาค่าเล่าเรียนต้องคิดจากค่าเงินในปัจจุบันและอนาคต โดยให้รวมค่าอัตราการเพิ่มของค่าเทอมหรือเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อปี (ประมาณ 5%) เข้าไปด้วย

11. แผนการเงินยามเกษียณทั้งหมดนี้เป็นวิธีบริหารเงินที่จะทำให้ทุกคนมีกินมีใช้แบบไม่จนตลอดปีและตลอดไป.
ให้คุณคำนวณเงินที่คุณควรมี เมื่อตอนเกษียณ โดยเอา 1 หาร 10 คูณอายุปัจจุบัน และคูณรายได้ทั้งปี หากคุณมีเงินออมน้อยกว่าที่คำนวณได้ คุณควรต้องเก็บเงินในสัดส่วนที่มากขึ้น จึงจะพอใช้จ่ายในอนาคต
12. การลงทุนและการจัดสำหรับลงทุน คุณควรแบ่งเงินไว้สำหรับใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน และกันไว้สำหรับสร้างหลักประกันเรียบร้อยแล้ว เงินที่เหลือจะเป็นเงินที่คุณนำมาลงทุนได้ ซึ่งประเภทของการลงทุน มีตั้งแต่หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม และเงินฝาก เหล่านี้ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น